เทศบาลตำบลบ้านธาตุ

เทศบาลตำบลบ้านธาตุ

วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บึมสนั่น! บั้งไฟหมื่นอุดรฯ ตกใส่บ้านคน ไฟไหม้วอด2ล้าน

        
    
      จังหวัดอุดรธานี เกิดเหตุระทึกบั้งไฟหมื่นที่จุดบูชา ประเพณีบุญบั้งไฟล้านตำนานม้าคำไหล ต.บ้านธาตุ อำเภอเพ็ญ จ.อุดรธานี ไม่ทะยานขึ้นฟ้าจนสุด แต่กลับพุ่งตกลงมาใส่บ้านประชาชนจนลุกไหม้วอดไปทั้งหลัง เกิดระเบิดเสียงดังสนั่น ค่าเสียหายร่วม2ล้าน แต่ก็ยังโชคดีไม่มีใครบาดเจ็บและเสียชีวิต  น.เอมอร ตรีรัตน์ เจ้าของบ้าน จึงอยากเรียกร้องให้ผู้จัดงานออกมารับผิดชอบ ด้วยการช่วยเหลือเยียวยาบ้างและแม้ว่าจะเกิดเหตุขึ้น ตนก็ยังอยากให้มีประเพณีบุญบั้งไฟเหมือนเดิม 
           
      ต่อมานายพุทธกาล พันธ์ทอง นายกเทศมนตรีเทศบาลบ้านธาตุและคณะ ในฐานะผู้จัดงานบุญบั้งไฟ ได้เดินทางมาเยี่ยมผู้เสียหายพร้อมกับกล่าวว่า คณะกรรมการจัดงานพร้อมที่จะรับผิดชอบในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นเหตุสุดวิสัยแม้ว่าจะได้วางแผนป้องกันไว้แล้ว เบื้องต้นได้เรียกประชุมกรรมการเพื่อหาวิธีให้ความช่วยเหลือ โดยทางคณะกรรมการได้ทำประกันภัยไว้ในวงเงิน 1ล้านบาทต่อ 1 บั้ง แต่ไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อวัน อย่างไรก็ตาม ค่าเสียหายส่วนที่เหลือคณะกรรมการจะได้ประชุมพิจารณา เพื่อช่วยเหลือในจำนวนที่ผู้เสียหาย
พึงพอใจมากที่สุด




ปู่พระศรีมหาธาตุ


เทศบาลตำบลบ้านธาตุ

   ประวัติความเป็นมา


           ตำบลบ้านธาตุ ชื่อเดิม "บ้านธาตุโพนบก" เรียกตามชื่อของ "พระธาตุ" ที่ตั้งอยู่วัด ศรีเจริญโพนบก มีมาแต่สมัยขอม ขณะนั้นประกอบด้วย 3 หมู่บ้าน คือ 1.บ้านโพนบก 2.บ้านโพธิ์เรียน 3.บ้านเป้า ปี พ.ศ. 2463 จึงจัดตั้งเป็น ต.บ้านธาตุ ปัจจุบันแบ่งการปกครองเป็น 20 หมู่บ้าน นายชาญณรงค์  จดธิสาร เป็นกำนันคนปัจจุบัน


   สภาพทั่วไป
          
         เทศบาลตำบลบ้านธาตุ  ตั้งอยู่บ้านธาตุ  ตำบลบ้านธาตุ  อำเภอเพ็ญ  จังหวัดอุดรธานี สำนักงานเทศบาลตำบลบ้านธาตุ  ตั้งอยู่หมู่ที่ บ้านธาตุ  อยู่ห่างจากตัวอำเภอเพ็ญ ประมาณ กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดอุดรธานี  ประมาณ  40 กิโลเมตร มีพื้นที่  ประมาณ   92 ตารางกิโลเมตร หรือ 57, 732  ไร่ ยกฐานะจากองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นเทศบาล ตามพระราชบัญญัติ ยกฐานะจากองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นเทศบาล 

ประเพณีบุญบั้งไฟล้าน บ้านธาตุอำเภอเพ็ญ

         
          งานบั้งไฟล้าน ตำนานม้าคำไหล เป็นงานบุญบั้งไฟของชาวบ้านธาตุ อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี  มาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยจะจัดขึ้นในวันเพ็ญเดือน 6 ของทุกปี เพื่อถวายแด่องค์พระศรีมหาธาตุ สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ชาวตำบลบ้านธาตุ อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี และชาว ต.สองห้อง อ.เมือง จังหวัดหนองคาย
          บุญบั้งไฟที่ อ.บ้านธาตุ จะต่างจากที่อื่นๆ ไปเพราะมีม้าคำไหลเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย กล่าวคือ ม้าคำไหลเป็นม้าฑัณทะกะที่พระพุทธเจ้าทรงใช้เมื่อทรงออกผนวช ดังมีตำนานเล่าว่า พ่อตู้สมศรีผู้พบซากปรักพังของบ้านธาตุ และพบพระธาตุเจดีย์ จึงได้นำพรรคพวกญาติพี่น้อง และผู้สมัครรักใคร่มาร่วมทำการบูรณะปฏิบัติพระธาตุเจดีย์ และสร้างบ้านธาตุขึ้นใหม่ขึ้น ชาวบ้านจึงได้แต่งตั้งให้เป็น พระศรีธาตุ ปกครองบ้านเมือง ต่อมาวันหนึ่งได้นิมิตว่า "มีชายแต่งกายสีขาวมาบอกให้ไปซื้อม้าขาวตัวหนึ่งที่อยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้านโดยอย่าต่อรองราคา เมื่อซื้อแล้วให้ขี่กลับมาได้เลย เพราะเป็นม้าพระพุทธเจ้า" จึงปฏิบัติตามและก็เป็นจริงตามที่ฝัน เดิมทีพ่อตู้ศรีขี่ม้าไม่เป็น แต่สามารถขี่ได้อย่างคล่องแคล่ว ถือได้ว่าเป็นผู้มีบุญญาธิการ พ่อตู้สมศรีได้ขี่ม้าขาวฑัณทะกะตัวนี้ออกเยี่ยมเยียนราษฎรตลอดมาให้ได้รับความผาสุขได้อย่างรื่นไหลไม่ติดขัด มีค่าเสมือนทองคำ จึงขนานนามม้าฑัณทะกะว่า ม้าคำไหล


ตำนานม้าคำไหล (ม้าคำไหล)

          ม้าคำไหล เป็นวัฒนธรรมความเชื่อ ที่ชาวบ้านธาตุยึดมั่น สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน ม้าคำไหลเป็นม้าไม้จำลองที่สมมุติทำขึ้นขนาดเท่าแขนคน มีลักษณะเหมือนม้าก้านกล้วย ส่วนหัวคล้ายม้า ลำตัวกลมยาวประมาณ 60 เซนติเมตร มีพู่หาง ไม่มีขา ใช้ขี่โดยคนทรง เพื่อร่วมกิจกรรมขบวนแห่บั้งไฟล้าน ของชุมชนบ้านธาตุ อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี ในวันเพ็ญเดือน 6 และแรม 1 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี ม้าคำไหลเป็นกิจกรรมเข้าทรงที่จะขาดหรือละเว้นไม่ได้ ทั้งนี้เพราะการละเล่นของม้าคำไหล จะมีผลต่อการอยู่ดีกินดีและความผาสุกร่มเย็นของชาวบ้าน หากละเว้นจะเกิดมีอาเพศ หรือเกิดอุบัติภัยต่างๆ นาๆ ขึ้น

          ม้าคำไหล เป็นกิจกรรมที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่สืบทอดกันมาแต่บรรพกาล เสียดายที่ไม่มีบันทึกหลักฐานที่ชัดเจน แต่จากการสอบค้นตำนานเมืองเพ็ญ และมีการเล่าต่อๆ กันมา พอจะสันนิษฐานได้ว่า มีมาในสมัยพระศรีธาตุ หรือพ่อตู้สมศรีระหว่าง พ.ศ.2390 หรือประมาณ 161 ปีมานี่เอง จำเดิมมีผู้เฒ่าผู้แก่เล่าว่า ม้าคำไหล คือ ม้าฑัณทกะที่นายฉันนะใช้เป็นพาหนะนำพระเจ้าสิทธัตถะทรงออกผนวช และเมื่อทรงผนวชแล้ว จึงให้นายฉันนะนำม้าฑัณทกะกลับวัง แต่ด้วยเหตุผลกลใดไม่ปรากฏ ม้าฑัณทกะได้เสียชีวิตระหว่างทาง แต่ด้วยบุญบารมีของพระเจ้าสิทธัตถะได้บันดาลให้ไปจุติเป็นเทพ ซึ่งในกาลต่อมาวิญญาณม้าฑัณทกะดังกล่าวได้มาเข้าทรงชาวบ้านธาตุเพื่อร่วมบูชาแถนในงานประเพณีบุญบั้งไฟด้วย จึงต้องจัดทำม้าจำลอง และจัดหาคนทรงขี่ม้าจำลองร่วมในขบวนแห่งานบุญบั้งไฟของบ้านธาตุตลอดจนถึงปัจจุบัน